วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประมูล 3 G หรือ แบ่งกันกิน

กรณีที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)

             ได้จัดให้มีการประมูลใบอนุญาต 3 จี บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ จำนวน 45 เมกะเฮิรตซ์ ขึ้นในวันที่ 16 ตุลาคมนี้ 2555 นั้น  ข้าใจการประมูล 3G ครั้งนี้อย่างง่ายๆ ดังนี้

             1)ประชาชนเป็นเจ้าของทรัพยากรคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์และโทร     
                คมนาคมตามรัฐธรรมนูญของประเทศไทย
             2)กสทช. มีหน้าที่ กำกับดูแล เพื่อให้ผลประโยชน์ของการใช้คลื่นความถี่
                ตกแก่ประชาชนเท่านั้น กสทช. ไม่ได้เป็นเจ้าของคลื่นความถี่

นักวิชาการ นักกฎหมาย ประชาชนหลายส่วน (เช่น ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ประธาน TDRI) ได้ออกมาท้วงติงและแสดงความห่วงใย ว่าการประมูลครั้งนี้ กสทช. อาจออกหลักเกณฑ์การประมูลที่อาจเอื้อให้เกิดการฮั้วกันของเอกชน และไม่เกิดการแข่งขันกันจริงๆโดยเฉพาะ การไปกำหนดราคาเริ่มต้นประมูลที่ 4,500 ล้าน ต่อ 5 เมกะเฮิรตซ์ โดยกำหนดราคาต่ำไปจากเดิมที่ กสทช. กำหนดไว้ที่ 6,440 ล้านบาท และเปลี่ยนรูปแบบโดยการปรับหลักเกณฑ์การประมูลใหม่ ให้เอกชนประมูลได้รายละ 15 เมกะเฮิรตซ์ เท่ากัน อาจทำให้เอกชนทั้ง 3 ราย (Ais, Dtac, True Move) สามารถได้รับการประมูลโดยไม่จำเป็นต้องแข่งขันกันประมูลแต่อย่างใดในทางปฏิบัติ ซึ่งขัดกับหลักการประมูลที่แท้จริง เพราะเท่ากับว่าการประมูลไม่ได้เกิดขึ้นจริง (เอกชนมีเพียงแค่ 3 ราย, ถ้ามีเกิน 4 รายก็ถือว่ามีการแข่งขันประมูลจริง)
ประเด็นที่ 1 การประมูลใบอนุญาต 3 จี ในวันที่ 16 ตุลาคมนี้ บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ จำนวน 45 เมกะเฮิรตซ์ นั้น กสทช.แบ่งเป็นก้อนละ 5 เมกะเฮิรตซ์ เป็นจำนวน 9 ก้อน แต่ละก้อนมีราคาประเมินอยู่ที่ก้อนละ 6,440 ล้านบาท,
ก่อนหน้านี้ เคยมีการเสนอให้มีการประมูลแบบ 4:3:2 ( นึกภาพออกรึเปล่าคะ ขอยกตัวอย่างนะคะ)

เช่นเปรียบ 3 จีคือก้อนเค้ก มีคนกินเค้กอยู่ 3 คน ถ้าเราตัดเค้กออกเป็น 3 ชิ้นเท่าๆกันก็จะไม่เกิดการแข่งขันถูกไหมคะ คน 3 คนก็แค่ต่อแถวซื้อเค้กแบบไม่ต้องรีบร้อน เพราะยังไงก็ได้เค้กเท่ากันอยู่ดี
แต่เรา เปลี่ยนจากตัดเค้กแต่ละชิ้นมาเป็นสัดส่วน ใหญ่ ลง มา เล็ก เช่น 4:3:2 ขายชิ้นใหญ่ชิ้นแรกก่อน ใครอยากทานก็จะเกิดการแข่งขันขึ้น เพราะชิ้นเค้กที่เหลือ เหลือน้อยเต็มที ถ้าไม่แข่งขันก็จะไม่ได้กิน
พอจะเข้าใจนะคะ 
เพื่อให้เอกชนแข่งขันกันอย่างเต็มที่ ซึ่งจะทำให้รัฐมีรายได้มากขึ้น การประมูลในราคาที่สูงขึ้นไม่เกี่ยวกับการกำหนดราคาต่อผู้บริโภคแต่อย่างใด แต่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในฐานะผู้เสียภาษี

แต่ต่อมา กสทช. เปลี่ยนรูปแบบโดยการปรับหลักเกณฑ์การประมูลใหม่ในการประมูล 3G ในครั้งนี้ว่า ให้เอกชนประมูลได้รายละ 15 เมกะเฮิรตซ์ เท่ากัน (คือคนละไม่เกิน 3 ก้อน) ซึ่งอาจทำให้เอกชนทั้ง 3 ราย (Ais, Dtac, True Move) สามารถได้รับการประมูลโดยไม่จำเป็นต้องแข่งขันกันประมูลแต่อย่างใดในทางปฏิบัติ ซึ่งอาจขัดกับหลักการประมูลที่แท้จริง เพราะเท่ากับว่าการประมูลไม่ได้เกิดขึ้นจริง (เพราะเอกชนมีเพียงแ่ค่ 3 ราย)

นอกจากนี้ ยังกำหนดราคาเริ่มต้นประมูลที่ 4,500 ล้าน ต่อ 5 เมกะเฮิรตซ์ (1 ก้อน) โดยกำหนดราคาต่ำไปจากเดิมที่ กสทช. เคยให้จุฬ่าฯ ประเมินราคาไว้, ถ้ามีการตกลงกันของเอกชนทั้ง 3 ราย ก็สามารถเป็นเจ้าของใบอนุญาตได้รายละแค่ 4,500 ล้าน x 3 = 13,500 บาท เท่านั้น หรือเพื่อไม่ให้น่าเกลียดก็อาจมีการขยับให้มีการประมูลรายละประมาณ 20,000 ล้านบาทก็ไม่เสียหายอะไร

ประเด็นที่ 2 ก่อนหน้านี้ AIS, DTAC, True Move มีสัญญาสัมปทานกับรัฐ คนละใบ และจ่ายค่าภาษีสัมปทานแก่รัฐปีละหลายพันล้านบาทตามตารางด้านล่างนี้ (หน่วย: ล้านบาท)
สัญญาสัมปทาน
AIS เหลืออีก 3 ปี ที่ต้องจ่ายภาษีสัมปทานให้แก่รัฐปีละ 20,000 กว่าล้านบาท รวมประมาณกว่า 70,000 ล้านบาท สัญญาสัมปทาน
DTAC เหลืออีก 5 ปี ที่ต้องจ่ายภาษีสัมปทานให้แก่รัฐปีละ 10,000 กว่าล้านบาท รวมประมาณกว่า 70,000 ล้านบาท
(AIS มีส่วนแบ่งการตลาด 53%, DTAC มีส่วนแบ่งการตลาด 33% ส่วน True Move มีส่วนแบ่งการตลาด 14% )

เท่ากับว่าการประมูล 3G ครั้งนี้ เอกชนทั้ง 3 ราย อาจได้รับใบอนุญาต 3G โดยจ่ายแค่ประมาณ 13,500-30,000 ล้านบาท ได้สบายๆ โดยได้กำไรทั้งขึ้นทั้งล่อง เพราะเมื่อได้ใบอนุญาตแล้วไม่ต้องจ่ายภาษีสัมปทานรายปีให้แก่รัฐอีกต่อไป
และใบอนุญาตใหม่ มีอายุ 15 ปี! แถมจ่ายค่าธรรมเนียมรายปีต่ำกว่าส่วนแบ่งรายได้สัมปทานแบบเก่า!
ประมูลครั้งนี้ เอกชนจึงเหมือนได้ของฟรี แถมยังสามารถเก็บเงินหากินกับผู้ใช้ 3G ไปอีก 15 ปี รวยไม่มีที่สิ้นสุด, ขอแสดงความยินดีด้วยคะ


เอาง่าย ๆ ว่า เงินสัมปทานที่รัฐได้จากการประมูลครั้งนี้ ประมาณ 42,000 ล้านบาท อายุสัมปทาน 15 ปี เฉลี่ยผู้ให้บริการต้องส่งรายได้ให้รัฐปีละประมาณ 2,800 ลบ. หรือเฉลี่ยเดือนละ 233 ลบ.

ส่วนรายได้ของผู้ให้บริการ คิดแบบคร่าว ๆ จำนวนเลขหมายโทรฯเคลื่อนที่ขณะนี้ประมาณ 50 ล้านเลขหมาย (รวมทุกเจ้า) เฉลี่ยรายได้ต่อเลขหมายประมาณ 200 บาท คิดเป็นเงินรายได้ 1 หมื่นล้านบาทต่อเดือน จ่ายสัมปทานเดือนละ 233 ล้านบาท หรือประมาณ 2% ของรายได้เท่านั้น

แล้วทำไมในอดีตที่ผ่านมา
ผู้ให้บริการทุกรายรวมกันสามารถส่งเงินส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐได้ปีละกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท
หรือเดือนละกว่า 3พันล้านบาท โดยผู้ให้บริการก็ยังมีผลกำไรจากการดำเนินงานทุกๆปี
เงินส่วนต่างตรงนี้ หายไปไหน ใครได้ประโยชน์ ทำให้ฉันอดคิดไม่ได้ว่ามีการรู้เห็นเป็นใจกันหรือไม่
ในหมู่ผู้ได้ประโยชน์ ผู้เข้าร่วมประมูล เหมือนสมรู้ร่วมคิดกันมาก่อน และอาจรวมถึงจนท.ของรัฐที่ออกกฏเกณฑ์เอื้อประโยชน์ผู้ประมูล (แต่ไม่คิดถึงผลประโยชน์ของชาติ) ขนาดนี้






วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555

กระเป๋าchanel ชาแนล ก๊อป

กระเป๋าก็อป Chanel มือ 1 ราคาถูกคะ


กว้าง 8 นิ้ว ขาย ราคา 700 พร้อมส่ง EMS

สั่งวันนี้ ได้ของ ไม่เกิน 2 วันคะ

ติดต่อมาได้เลยคะ