กรณีที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
ได้จัดให้มีการประมูลใบอนุญาต 3 จี บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ จำนวน 45 เมกะเฮิรตซ์ ขึ้นในวันที่ 16 ตุลาคมนี้ 2555 นั้น ข้าใจการประมูล 3G ครั้งนี้อย่างง่ายๆ ดังนี้
1)ประชาชนเป็นเจ้าของทรัพยากรคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์และโทร
คมนาคมตามรัฐธรรมนูญของประเทศไทย
2)กสทช. มีหน้าที่ กำกับดูแล เพื่อให้ผลประโยชน์ของการใช้คลื่นความถี่
ตกแก่ประชาชนเท่านั้น กสทช. ไม่ได้เป็นเจ้าของคลื่นความถี่
นักวิชาการ นักกฎหมาย ประชาชนหลายส่วน (เช่น ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิชย์ ประธาน TDRI) ได้ออกมาท้วงติงและแสดงความห่วงใย ว่าการประมูลครั้งนี้ กสทช. อาจออกหลักเกณฑ์การประมูลที่อาจเอื้อให้เกิดการฮั้วกันของเอกชน และไม่เกิดการแข่งขันกันจริงๆโดยเฉพาะ การไปกำหนดราคาเริ่มต้นประมูลที่ 4,500 ล้าน ต่อ 5 เมกะเฮิรตซ์ โดยกำหนดราคาต่ำไปจากเดิมที่ กสทช. กำหนดไว้ที่ 6,440 ล้านบาท และเปลี่ยนรูปแบบโดยการปรับหลักเกณฑ์การประมูลใหม่ ให้เอกชนประมูลได้รายละ 15 เมกะเฮิรตซ์ เท่ากัน อาจทำให้เอกชนทั้ง 3 ราย (Ais, Dtac, True Move) สามารถได้รับการประมูลโดยไม่จำเป็นต้องแข่งขันกันประมูลแต่อย่างใดในทางปฏิบัติ ซึ่งขัดกับหลักการประมูลที่แท้จริง เพราะเท่ากับว่าการประมูลไม่ได้เกิดขึ้นจริง (เอกชนมีเพียงแค่ 3 ราย, ถ้ามีเกิน 4 รายก็ถือว่ามีการแข่งขันประมูลจริง)
ประเด็นที่ 1 การประมูลใบอนุญาต 3 จี ในวันที่ 16 ตุลาคมนี้ บนคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ จำนวน 45 เมกะเฮิรตซ์ นั้น กสทช.แบ่งเป็นก้อนละ 5 เมกะเฮิรตซ์ เป็นจำนวน 9 ก้อน แต่ละก้อนมีราคาประเมินอยู่ที่ก้อนละ 6,440 ล้านบาท,
ก่อนหน้านี้ เคยมีการเสนอให้มีการประมูลแบบ 4:3:2 ( นึกภาพออกรึเปล่าคะ ขอยกตัวอย่างนะคะ)
เช่นเปรียบ 3 จีคือก้อนเค้ก มีคนกินเค้กอยู่ 3 คน ถ้าเราตัดเค้กออกเป็น 3 ชิ้นเท่าๆกันก็จะไม่เกิดการแข่งขันถูกไหมคะ คน 3 คนก็แค่ต่อแถวซื้อเค้กแบบไม่ต้องรีบร้อน เพราะยังไงก็ได้เค้กเท่ากันอยู่ดี
แต่เรา เปลี่ยนจากตัดเค้กแต่ละชิ้นมาเป็นสัดส่วน ใหญ่ ลง มา เล็ก เช่น 4:3:2 ขายชิ้นใหญ่ชิ้นแรกก่อน ใครอยากทานก็จะเกิดการแข่งขันขึ้น เพราะชิ้นเค้กที่เหลือ เหลือน้อยเต็มที ถ้าไม่แข่งขันก็จะไม่ได้กิน
พอจะเข้าใจนะคะ
เพื่อให้เอกชนแข่งขันกันอย่างเต็มที่ ซึ่งจะทำให้รัฐมีรายได้มากขึ้น การประมูลในราคาที่สูงขึ้นไม่เกี่ยวกับการกำหนดราคาต่อผู้บริโภคแต่อย่างใด แต่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนในฐานะผู้เสียภาษี
แต่ต่อมา กสทช. เปลี่ยนรูปแบบโดยการปรับหลักเกณฑ์การประมูลใหม่ในการประมูล 3G ในครั้งนี้ว่า ให้เอกชนประมูลได้รายละ 15 เมกะเฮิรตซ์ เท่ากัน (คือคนละไม่เกิน 3 ก้อน) ซึ่งอาจทำให้เอกชนทั้ง 3 ราย (Ais, Dtac, True Move) สามารถได้รับการประมูลโดยไม่จำเป็นต้องแข่งขันกันประมูลแต่อย่างใดในทางปฏิบัติ ซึ่งอาจขัดกับหลักการประมูลที่แท้จริง เพราะเท่ากับว่าการประมูลไม่ได้เกิดขึ้นจริง (เพราะเอกชนมีเพียงแ่ค่ 3 ราย)
นอกจากนี้ ยังกำหนดราคาเริ่มต้นประมูลที่ 4,500 ล้าน ต่อ 5 เมกะเฮิรตซ์ (1 ก้อน) โดยกำหนดราคาต่ำไปจากเดิมที่ กสทช. เคยให้จุฬ่าฯ ประเมินราคาไว้, ถ้ามีการตกลงกันของเอกชนทั้ง 3 ราย ก็สามารถเป็นเจ้าของใบอนุญาตได้รายละแค่ 4,500 ล้าน x 3 = 13,500 บาท เท่านั้น หรือเพื่อไม่ให้น่าเกลียดก็อาจมีการขยับให้มีการประมูลรายละประมาณ 20,000 ล้านบาทก็ไม่เสียหายอะไร
ประเด็นที่ 2 ก่อนหน้านี้ AIS, DTAC, True Move มีสัญญาสัมปทานกับรัฐ คนละใบ และจ่ายค่าภาษีสัมปทานแก่รัฐปีละหลายพันล้านบาทตามตารางด้านล่างนี้ (หน่วย: ล้านบาท)
สัญญาสัมปทาน
AIS เหลืออีก 3 ปี ที่ต้องจ่ายภาษีสัมปทานให้แก่รัฐปีละ 20,000 กว่าล้านบาท รวมประมาณกว่า 70,000 ล้านบาท สัญญาสัมปทาน
DTAC เหลืออีก 5 ปี ที่ต้องจ่ายภาษีสัมปทานให้แก่รัฐปีละ 10,000 กว่าล้านบาท รวมประมาณกว่า 70,000 ล้านบาท
(AIS มีส่วนแบ่งการตลาด 53%, DTAC มีส่วนแบ่งการตลาด 33% ส่วน True Move มีส่วนแบ่งการตลาด 14% )
เท่ากับว่าการประมูล 3G ครั้งนี้ เอกชนทั้ง 3 ราย อาจได้รับใบอนุญาต 3G โดยจ่ายแค่ประมาณ 13,500-30,000 ล้านบาท ได้สบายๆ โดยได้กำไรทั้งขึ้นทั้งล่อง เพราะเมื่อได้ใบอนุญาตแล้วไม่ต้องจ่ายภาษีสัมปทานรายปีให้แก่รัฐอีกต่อไป
และใบอนุญาตใหม่ มีอายุ 15 ปี! แถมจ่ายค่าธรรมเนียมรายปีต่ำกว่าส่วนแบ่งรายได้สัมปทานแบบเก่า!
ประมูลครั้งนี้ เอกชนจึงเหมือนได้ของฟรี แถมยังสามารถเก็บเงินหากินกับผู้ใช้ 3G ไปอีก 15 ปี รวยไม่มีที่สิ้นสุด, ขอแสดงความยินดีด้วยคะ
เอาง่าย ๆ ว่า เงินสัมปทานที่รัฐได้จากการประมูลครั้งนี้ ประมาณ 42,000 ล้านบาท อายุสัมปทาน 15 ปี เฉลี่ยผู้ให้บริการต้องส่งรายได้ให้รัฐปีละประมาณ 2,800 ลบ. หรือเฉลี่ยเดือนละ 233 ลบ.
ส่วนรายได้ของผู้ให้บริการ คิดแบบคร่าว ๆ จำนวนเลขหมายโทรฯเคลื่อนที่ขณะนี้ประมาณ 50 ล้านเลขหมาย (รวมทุกเจ้า) เฉลี่ยรายได้ต่อเลขหมายประมาณ 200 บาท คิดเป็นเงินรายได้ 1 หมื่นล้านบาทต่อเดือน จ่ายสัมปทานเดือนละ 233 ล้านบาท หรือประมาณ 2% ของรายได้เท่านั้น
แล้วทำไมในอดีตที่ผ่านมา
ผู้ให้บริการทุกรายรวมกันสามารถส่งเงินส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐได้ปีละกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท
หรือเดือนละกว่า 3พันล้านบาท โดยผู้ให้บริการก็ยังมีผลกำไรจากการดำเนินงานทุกๆปี
เงินส่วนต่างตรงนี้ หายไปไหน ใครได้ประโยชน์ ทำให้ฉันอดคิดไม่ได้ว่ามีการรู้เห็นเป็นใจกันหรือไม่
ในหมู่ผู้ได้ประโยชน์ ผู้เข้าร่วมประมูล เหมือนสมรู้ร่วมคิดกันมาก่อน และอาจรวมถึงจนท.ของรัฐที่ออกกฏเกณฑ์เอื้อประโยชน์ผู้ประมูล (แต่ไม่คิดถึงผลประโยชน์ของชาติ) ขนาดนี้
วันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2555
กระเป๋าchanel ชาแนล ก๊อป
กระเป๋าก็อป Chanel มือ 1 ราคาถูกคะ
กว้าง 8 นิ้ว ขาย ราคา 700 พร้อมส่ง EMS
สั่งวันนี้ ได้ของ ไม่เกิน 2 วันคะ
กว้าง 8 นิ้ว ขาย ราคา 700 พร้อมส่ง EMS
สั่งวันนี้ ได้ของ ไม่เกิน 2 วันคะ
ติดต่อมาได้เลยคะ
วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555
ชัยทัวร์
บริษัท: ชัยทัวร์ จำกัด
(ENG): CHAI TOUR CO,,LTD.
ที่อยู่: 297 NARADHIWAS 24
ถนน: NARADHIWAS
ตำบล/แขวง: YANNAWA
อำเภอ/เขต: ยานนาวา-สาธร
จังหวัด: กรุงเทพๆ
รหัสไปรษณีย์: 10120
เว็บไซค์: www.chaitour.co.th
เบอร์โทรศัพท์: 022128431
Fax: 022110119
มือถือ: 0896858897 (วา)
ติดต่อ คุณ เต้ย อี๊ด วา อ้น จูน เที่ยว สบาย สบาย กินดี อยู่ดี บริการดี เต็มคุณภาพ สมราคา
(ENG): CHAI TOUR CO,,LTD.
ที่อยู่: 297 NARADHIWAS 24
ถนน: NARADHIWAS
ตำบล/แขวง: YANNAWA
อำเภอ/เขต: ยานนาวา-สาธร
จังหวัด: กรุงเทพๆ
รหัสไปรษณีย์: 10120
เว็บไซค์: www.chaitour.co.th
เบอร์โทรศัพท์: 022128431
Fax: 022110119
มือถือ: 0896858897 (วา)
ติดต่อ คุณ เต้ย อี๊ด วา อ้น จูน เที่ยว สบาย สบาย กินดี อยู่ดี บริการดี เต็มคุณภาพ สมราคา
วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555
เที่ยวราคาถูก บริการดี
อาบน้ำแร่เมืองระนอง
เดินทาง : ศุกร์ที่ 21- อาทิตย์ที่ 23 กันยายน 2555
1) ศุกร์ที่ 21 กันยายน 2555 กรุงเทพ – ชุมพร
06.00 น. พร้อมกันที่ หน้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ริมถนนอังรีดูนังต์
เจ้าหน้าที่ชัยทัวร์คอยให้การต้อนรับและอำนวยความสะดวก
06.30 น. ออกเดินทางโดยรถโค้ชปรับอากาศ พร้อมห้องสุขภัณฑ์สู่ จังหวัดชุมพร ประตูสู่เมืองใต้แดนสยาม
บริการอาหารเช้า เครื่องดื่ม และผลไม้ / ทักทายสนทนาตามประสาคนกันเอง
ถึง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นำท่านชมทิวทัศน์บริเวณ อ่าวมะนาว ภายในกองบิน 53 ฟังเรื่องราว วีรกรรมเมื่อครั้งสถานที่แห่งนี้กลายเป็นสมรภูมิรบในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างกองทัพไทย และกองทัพญี่ปุ่นในปี พ.ศ.2484 ชมอนุสาวรีย์วีรชนรูปทหารอากาศในชุดนักบินยืนอยู่บนใบพัด เครื่องบินถือธงหันหน้าออกทะเล และแท่งหินขนาดใหญ่แกะสลักจำลองฉากการต่อสู่ระหว่างไทย กับญี่ปุ่น จากนั้นไปชมความน่ารักของ ค่างแว่น ซึ่งอาศัยอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กองบิน 53
เที่ยง อาหารกลางวันที่ ห้องอาหาร
บ่าย ชม พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหว้ากอ ศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล ธรรมชาติวิทยา และสิ่งแวดล้อม สำหรับเด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ทั้งในและนอกระบบโรงเรียน รวมถึงประชาชน ทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จากนั้นเดินทางสู่ วัดแก้วประเสริฐ ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า วัดเจ้าแม่กวนอิม สร้างขึ้นบนเนินเขาริมชายทะเลมองเห็นทิวทัศน์ของภูเขายอดเว้าแหว่งยื่นลงไป ในทะเลสวยงามดั่งภาพเขียน หลวงพ่อจง เจ้าอาวาสได้ปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างแบบไทยและจีน ไว้มากมายสำหรับให้ผู้คนได้มาสักการะ สิ่งที่เป็นจุดเด่นคือ พระนาคปรก 9 เศียร สูง 9.99 เมตร และพระโพธิสัตว์กวนอิมแห่งทะเลใต้สูง 9.99 เมตร นอกจากนี้ยังมีพระอุโบสถสีทอง รูปปั้นพระอรหันต์ไทย-จีน รูปปั้นกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ รวมถึงพิพิธภัณฑ์ของโบราณและมีภาพเขียนให้ชมอีกด้วย
เดินทางเข้าสู่จังหวัดชุมพรนำท่านเข้าที่พัก โรงแรม A – Te’
ค่ำ อาหารค่ำที่ ครัวพริกหอม
พักผ่อนตามอัธยาศัย...ราตรีสวัสดิ์
อาบน้ำแร่เมืองระนอง
2) เสาร์ที่ 22 กันยายน 2555 ชุมพร – ระนอง
อาหารเช้าที่ห้องอาหารของโรงแรม
เช้า เดินทางสู่ จังหวัดระนอง ผ่าน คอคอดกระ หรือ กิ่วกระ ส่วนที่แคบสุดของแหลมมาลายูสามารถ มองเห็นพื้นที่ฝั่งพม่าได้อย่างชัดเจน ลองลิ้มชิมรสซาลาเปาขึ้นชื่อของจังหวัดระนอง
ถึงตัวเมืองระนองชมตึกโบราณสไตล์ชิโนโปรตุกีสที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ และชม พระราชวังรัตนรังสรรค์ (จำลอง) พระราชวังที่จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นการอนุสรณ์การเสด็จประทับแรม ณ จังหวัดระนอง ของพระมหากษัตริย์ไทย 3 พระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ.2433 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ในปี พ.ศ.2452 และพระบาท - สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ในปี พ.ศ.2471 นับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่ง ของจังหวัดระนอง
เทียง อาหารกลางวันที่ ห้องอาหาร
บ่าย สักการะ ศาลหลักเมืองระนอง เป็นศาลหลักเมืองที่มีความสวยงามและเป็นที่เคารพสักการะ ของชาวระนอง ซึ่งทางเทศบาลเมืองระนองได้จัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2530 ณ บริเวณที่เคยเป็นบ้านพักของพระยารัตนเศรษฐีเจ้าเมืองระนอง ตั้งอยู่ริมคลองหาดส้มแป้น จากนั้นเดินทางสู่ วัดหาดส้มแป้น สักการะรูปหล่อหลวงพ่อคล้ายพระภิกษุสงฆ์ที่ประชาชนภาคใต้ให้ความเคารพนับถือ ซึ่งท่านได้มา จำพรรษาและมรภาพที่วัดแห่งนี้ ชาวบ้านจึงได้ร่วมกันสร้างรูปหล่อของท่าน เพื่อให้คนในพื้นที่ หรือผู้ที่มาท่องเที่ยวเมืองระนองได้มีโอกาสมากราบไหว้บูชา นอกจากนี้ที่นี่ยังมียังมีปลาพลวงหรือพวง ซึ่งถือว่าเป็นปลาศักดิ์สิทธิ์อยู่ในคลองบริเวณวัดปลาชนิดนี้ไม่นิยมนำไปรับประทาน เพราะเชื่อกันว่าเป็นปลาเทพเจ้า และที่สำคัญคือปลาชนิดนี้จะมีพิษสะสมในตัวปลาด้วยหากนำไปรับประทาน อาจเกิดเป็นอันตรายต่อร่างกายได้
นำท่านสัมผัสน้ำแร่ธรรมชาติที่ สยามฮอทสปา แช่น้ำแร่ธรรมชาติเพื่อผ่อนคลายความเมื่อยล้า และช่วยขับสารพิษ คืนความสดใสสดชื่นให้ผิวพรรณ พร้อมสุขภาพที่ดีให้ร่างกาย และต่อด้วยการ ผ่อนคลายเนื้อด้วยบริการนวดฝ่าเท้าท่านละ 45 นาทีแบบสบายๆ
สมควรแก่เวลานำท่านเข้าที่พัก โรงแรมทินีดี
ค่ำ อาหารกลางค่ำที่ ห้องอาหาร
พักผ่อนตามอัธยาศัย...ราตรีสวัสดิ์
อาบน้ำแร่เมืองระนอง
3) อาทิตย์ที่ 23 กันยายน 2555 ระนอง – กรุงเทพฯ
อาหารเช้าที่ โรงแรม
เช้า อำลาเมืองระนอง แวะสักการะ ศาลพ่อตาหินช้าง และเลือกซื้อของฝาก อาทิเช่น กล้วยเล็บมือนาง กล้วยตาก ผลไม้ และขนมต่างๆ จากนั้นเดินทางสู่ หาดบ้านกรูด ชม พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ ประติมากรรมอันงดงามกลางเขาธงชัย เป็นผลงานการออกแบบและควบคุมการก่อสร้างโดย ม.ร.ว.มิตรวรุณ เกษมศรี ศิลปินแห่งชาติ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศล ในวโรกาสครองราชย์ครบ 50 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสักการะ พระพุทธกิติสิริชัย ซึ่งคณะสงฆ์ร่วมกับชาวบ้านสร้างถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาส ที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ โดยสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกประธานนามถวาย
เที่ยง อาหารกลางวันที่ ร้านป้าหนู
บ่าย เดินทางกลับสู่กรุงเทพฯ แวะซื้อของฝากระหว่างทางตามความเหมาะสม
19.00 น. ถึง กรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพ รถจอดที่ หน้าคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ริมถนนพญาไท
กลับบ้านด้วยความสนุกสนานและประทับใจยิ่ง
หมายเหตุ กำหนดการนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้างตามเหตุการณ์และความเหมาะสม
อัตราค่าบริการ ท่านละ 6,800 บาท / เด็ก 5,100 บาท(อายุ 4 – 11 ปี พักเตียงเสริม)
พักเดี่ยวเพิ่ม 1,200 บาท / พักเสริมลด 300 บาท(เฉพาะท่านที่ 3)
บริการที่จัดให้ 1. รถโค้ชปรับอากาศท่องเที่ยวตามรายการ / 2. ที่พักตามรายการ ห้องพักละ 2 ท่าน
3. อาหารจัดเลี้ยง พร้อมอาหารว่างว่าง เครื่องดื่มและผลไม้
4. ทุนประกันอุบัติเหตุ ในวงเงินท่านละ 1,000,000 บาท
- วงเงินค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุท่านละ 500,000 บาท
5. ค่าธรรมเนียมเข้าชมสถานที่ต่างๆ ตามรายการ
6. มัคคุเทศก์และทีมงานที่เข้มแข็งจากชัยทัวร์
อัตรานี้ไม่รวม 1. ค่าอาหารและเครื่องดื่มนอกเหนือจากรายการ
2. ค่าใช้จ่ายส่วนตัว เช่น ค่าโทรศัพท์ , ค่ามินิบาร์ , ค่าซักรีด
3. ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 %
สำรองการเดินทาง : โทร. 0 2212 8431 ต่อ 114 - 119 (เก่ง, อี๊ด, จูน)
โทรสาร. 0 2211 0119 E-mail : domestic@chaitour.co.th
จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 น. – 17.30 น.
ชำระค่าบริการผ่านธนาคาร บัญชีออมทรัพย์ชื่อ นาย ชัยธวัชว์ ไทยง
ธนาคารกสิกรไทย สาขายานนาวา เลขที่ 013–2–52992–2
หรือ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาบางรัก เลขที่ 054–2–28974–6
เดินทาง : ศุกร์ที่ 21- อาทิตย์ที่ 23 กันยายน 2555
1) ศุกร์ที่ 21 กันยายน 2555 กรุงเทพ – ชุมพร
06.00 น. พร้อมกันที่ หน้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ริมถนนอังรีดูนังต์
เจ้าหน้าที่ชัยทัวร์คอยให้การต้อนรับและอำนวยความสะดวก
06.30 น. ออกเดินทางโดยรถโค้ชปรับอากาศ พร้อมห้องสุขภัณฑ์สู่ จังหวัดชุมพร ประตูสู่เมืองใต้แดนสยาม
บริการอาหารเช้า เครื่องดื่ม และผลไม้ / ทักทายสนทนาตามประสาคนกันเอง
ถึง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นำท่านชมทิวทัศน์บริเวณ อ่าวมะนาว ภายในกองบิน 53 ฟังเรื่องราว วีรกรรมเมื่อครั้งสถานที่แห่งนี้กลายเป็นสมรภูมิรบในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างกองทัพไทย และกองทัพญี่ปุ่นในปี พ.ศ.2484 ชมอนุสาวรีย์วีรชนรูปทหารอากาศในชุดนักบินยืนอยู่บนใบพัด เครื่องบินถือธงหันหน้าออกทะเล และแท่งหินขนาดใหญ่แกะสลักจำลองฉากการต่อสู่ระหว่างไทย กับญี่ปุ่น จากนั้นไปชมความน่ารักของ ค่างแว่น ซึ่งอาศัยอยู่ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กองบิน 53
เที่ยง อาหารกลางวันที่ ห้องอาหาร
บ่าย ชม พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำหว้ากอ ศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทางทะเล ธรรมชาติวิทยา และสิ่งแวดล้อม สำหรับเด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ทั้งในและนอกระบบโรงเรียน รวมถึงประชาชน ทั่วไปทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จากนั้นเดินทางสู่ วัดแก้วประเสริฐ ซึ่งชาวบ้านเรียกกันว่า วัดเจ้าแม่กวนอิม สร้างขึ้นบนเนินเขาริมชายทะเลมองเห็นทิวทัศน์ของภูเขายอดเว้าแหว่งยื่นลงไป ในทะเลสวยงามดั่งภาพเขียน หลวงพ่อจง เจ้าอาวาสได้ปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างแบบไทยและจีน ไว้มากมายสำหรับให้ผู้คนได้มาสักการะ สิ่งที่เป็นจุดเด่นคือ พระนาคปรก 9 เศียร สูง 9.99 เมตร และพระโพธิสัตว์กวนอิมแห่งทะเลใต้สูง 9.99 เมตร นอกจากนี้ยังมีพระอุโบสถสีทอง รูปปั้นพระอรหันต์ไทย-จีน รูปปั้นกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ รวมถึงพิพิธภัณฑ์ของโบราณและมีภาพเขียนให้ชมอีกด้วย
เดินทางเข้าสู่จังหวัดชุมพรนำท่านเข้าที่พัก โรงแรม A – Te’
ค่ำ อาหารค่ำที่ ครัวพริกหอม
พักผ่อนตามอัธยาศัย...ราตรีสวัสดิ์
อาบน้ำแร่เมืองระนอง
2) เสาร์ที่ 22 กันยายน 2555 ชุมพร – ระนอง
อาหารเช้าที่ห้องอาหารของโรงแรม
เช้า เดินทางสู่ จังหวัดระนอง ผ่าน คอคอดกระ หรือ กิ่วกระ ส่วนที่แคบสุดของแหลมมาลายูสามารถ มองเห็นพื้นที่ฝั่งพม่าได้อย่างชัดเจน ลองลิ้มชิมรสซาลาเปาขึ้นชื่อของจังหวัดระนอง
ถึงตัวเมืองระนองชมตึกโบราณสไตล์ชิโนโปรตุกีสที่ยังคงอนุรักษ์ไว้ และชม พระราชวังรัตนรังสรรค์ (จำลอง) พระราชวังที่จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นการอนุสรณ์การเสด็จประทับแรม ณ จังหวัดระนอง ของพระมหากษัตริย์ไทย 3 พระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ.2433 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ในปี พ.ศ.2452 และพระบาท - สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ในปี พ.ศ.2471 นับเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่ง ของจังหวัดระนอง
เทียง อาหารกลางวันที่ ห้องอาหาร
บ่าย สักการะ ศาลหลักเมืองระนอง เป็นศาลหลักเมืองที่มีความสวยงามและเป็นที่เคารพสักการะ ของชาวระนอง ซึ่งทางเทศบาลเมืองระนองได้จัดสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2530 ณ บริเวณที่เคยเป็นบ้านพักของพระยารัตนเศรษฐีเจ้าเมืองระนอง ตั้งอยู่ริมคลองหาดส้มแป้น จากนั้นเดินทางสู่ วัดหาดส้มแป้น สักการะรูปหล่อหลวงพ่อคล้ายพระภิกษุสงฆ์ที่ประชาชนภาคใต้ให้ความเคารพนับถือ ซึ่งท่านได้มา จำพรรษาและมรภาพที่วัดแห่งนี้ ชาวบ้านจึงได้ร่วมกันสร้างรูปหล่อของท่าน เพื่อให้คนในพื้นที่ หรือผู้ที่มาท่องเที่ยวเมืองระนองได้มีโอกาสมากราบไหว้บูชา นอกจากนี้ที่นี่ยังมียังมีปลาพลวงหรือพวง ซึ่งถือว่าเป็นปลาศักดิ์สิทธิ์อยู่ในคลองบริเวณวัดปลาชนิดนี้ไม่นิยมนำไปรับประทาน เพราะเชื่อกันว่าเป็นปลาเทพเจ้า และที่สำคัญคือปลาชนิดนี้จะมีพิษสะสมในตัวปลาด้วยหากนำไปรับประทาน อาจเกิดเป็นอันตรายต่อร่างกายได้
นำท่านสัมผัสน้ำแร่ธรรมชาติที่ สยามฮอทสปา แช่น้ำแร่ธรรมชาติเพื่อผ่อนคลายความเมื่อยล้า และช่วยขับสารพิษ คืนความสดใสสดชื่นให้ผิวพรรณ พร้อมสุขภาพที่ดีให้ร่างกาย และต่อด้วยการ ผ่อนคลายเนื้อด้วยบริการนวดฝ่าเท้าท่านละ 45 นาทีแบบสบายๆ
สมควรแก่เวลานำท่านเข้าที่พัก โรงแรมทินีดี
ค่ำ อาหารกลางค่ำที่ ห้องอาหาร
พักผ่อนตามอัธยาศัย...ราตรีสวัสดิ์
อาบน้ำแร่เมืองระนอง
3) อาทิตย์ที่ 23 กันยายน 2555 ระนอง – กรุงเทพฯ
อาหารเช้าที่ โรงแรม
เช้า อำลาเมืองระนอง แวะสักการะ ศาลพ่อตาหินช้าง และเลือกซื้อของฝาก อาทิเช่น กล้วยเล็บมือนาง กล้วยตาก ผลไม้ และขนมต่างๆ จากนั้นเดินทางสู่ หาดบ้านกรูด ชม พระมหาธาตุเจดีย์ภักดีประกาศ ประติมากรรมอันงดงามกลางเขาธงชัย เป็นผลงานการออกแบบและควบคุมการก่อสร้างโดย ม.ร.ว.มิตรวรุณ เกษมศรี ศิลปินแห่งชาติ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศล ในวโรกาสครองราชย์ครบ 50 ปี ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสักการะ พระพุทธกิติสิริชัย ซึ่งคณะสงฆ์ร่วมกับชาวบ้านสร้างถวายสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในวโรกาส ที่ทรงเจริญพระชนมายุครบ 5 รอบ โดยสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายกประธานนามถวาย
เที่ยง อาหารกลางวันที่ ร้านป้าหนู
บ่าย เดินทางกลับสู่กรุงเทพฯ แวะซื้อของฝากระหว่างทางตามความเหมาะสม
19.00 น. ถึง กรุงเทพฯ โดยสวัสดิภาพ รถจอดที่ หน้าคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ ริมถนนพญาไท
กลับบ้านด้วยความสนุกสนานและประทับใจยิ่ง
หมายเหตุ กำหนดการนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้างตามเหตุการณ์และความเหมาะสม
อัตราค่าบริการ ท่านละ 6,800 บาท / เด็ก 5,100 บาท(อายุ 4 – 11 ปี พักเตียงเสริม)
พักเดี่ยวเพิ่ม 1,200 บาท / พักเสริมลด 300 บาท(เฉพาะท่านที่ 3)
บริการที่จัดให้ 1. รถโค้ชปรับอากาศท่องเที่ยวตามรายการ / 2. ที่พักตามรายการ ห้องพักละ 2 ท่าน
3. อาหารจัดเลี้ยง พร้อมอาหารว่างว่าง เครื่องดื่มและผลไม้
4. ทุนประกันอุบัติเหตุ ในวงเงินท่านละ 1,000,000 บาท
- วงเงินค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากอุบัติเหตุท่านละ 500,000 บาท
5. ค่าธรรมเนียมเข้าชมสถานที่ต่างๆ ตามรายการ
6. มัคคุเทศก์และทีมงานที่เข้มแข็งจากชัยทัวร์
อัตรานี้ไม่รวม 1. ค่าอาหารและเครื่องดื่มนอกเหนือจากรายการ
2. ค่าใช้จ่ายส่วนตัว เช่น ค่าโทรศัพท์ , ค่ามินิบาร์ , ค่าซักรีด
3. ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม 7 %
สำรองการเดินทาง : โทร. 0 2212 8431 ต่อ 114 - 119 (เก่ง, อี๊ด, จูน)
โทรสาร. 0 2211 0119 E-mail : domestic@chaitour.co.th
จันทร์ – ศุกร์ เวลา 09.00 น. – 17.30 น.
ชำระค่าบริการผ่านธนาคาร บัญชีออมทรัพย์ชื่อ นาย ชัยธวัชว์ ไทยง
ธนาคารกสิกรไทย สาขายานนาวา เลขที่ 013–2–52992–2
หรือ ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาบางรัก เลขที่ 054–2–28974–6
วันพุธที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
เพลง HotNcold Artist : katy perry
Hot 'N Cold
You change your mind
Like a girl changes clothes
Yeah you, PMS
Like a bitch
I would know
And you over think
Always speak
Cryptically
I should know
That you're no good for me
{CHORUS}
Cause you're hot then you're cold
You're yes then you're no
You're in and you're out
You're up and you're down
You're wrong when it's right
It's black and it's white
We fight, we break up
We kiss, we make up
You, You don't really want to stay, no
*but* You, but you don't really want to go-o
You're hot then you're cold
You're yes then you're no
You're in and you're out
You're up and you're down
We used to be
Just like twins
So in sync
The same energy
Now's a dead battery
Used to laugh bout nothing
Now your plain boring
I should know that
you're not gonna change
{CHORUS}
Someone call the doctor
Got a case of a love bi-polar
Stuck on a roller coaster
Can't get off this ride
You change your mind
Like a girl changes clothes
Like a girl changes clothes
Yeah you, PMS
Like a bitch
I would know
And you over think
Always speak
Cryptically
I should know
That you're no good for me
{CHORUS}
Cause you're hot then you're cold
You're yes then you're no
You're in and you're out
You're up and you're down
You're wrong when it's right
It's black and it's white
We fight, we break up
We kiss, we make up
You, You don't really want to stay, no
*but* You, but you don't really want to go-o
You're hot then you're cold
You're yes then you're no
You're in and you're out
You're up and you're down
We used to be
Just like twins
So in sync
The same energy
Now's a dead battery
Used to laugh bout nothing
Now your plain boring
I should know that
you're not gonna change
{CHORUS}
Someone call the doctor
Got a case of a love bi-polar
Stuck on a roller coaster
Can't get off this ride
You change your mind
Like a girl changes clothes
นี่เปลี่ยนใจง่าย ยังกับผู้หญิงเปลี่ยนเสื้อผ้าเลย มีประจำเดือนหรือไง ถึงได้งุ่นง่านเป็น
*เหียกตัวแสบขนาดนี้ คิดแต่ตัวเองถูกอยู่คนเดียวเป็นหรือไง พอที
**มันเหียก ห่วย แย่มาก ไม่ดีพอสำหรับชั้นหรอก เพราะอยู่ดีๆ
ก็เดี๋ยวก็ดี เดี๋ยวร้าย เดี๋ยวใช่ เดี๋ยวไม่ใช่ เดี๋ยวสนใจ เดี๋ยวทิ้งๆขว้างๆ เดี๋ยวยิ้ม เดี๋ยวเศร้า
คิดว่าตัวเองถูก ทั้งๆที่มันผิดเต็มประตู พอทะเลาะกัน ก็บอกว่าเลิกกันเถอะ พอมาจูบลา ก็บอกว่าคืนดีกันนะ
เอะอะก็บอกว่าเบื่อที่จะอยู่กับชั้น แต่ก็ไม่ได้อยากไปอยู่กับใครที่ไหน
นี่**จะเอายังไงกับชีวิต**วะ **บอกกรูมาเลยดีกว่า กรูไม่ไหวแล้วนะว้อย
วันอาทิตย์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2553
จดหมายเหตุ มองซิเออร์ เดอ ลาลูแบร์

ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้มีบุคคลสำคัญชาวฝรั่งเศส ๒ คน ได้เดินทางสู่กรุงสยาม ในฐานะ อัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งประเทศฝรั่งเศส คือบาทหลวงตาชาร์ด กับ นายเดอลาลูแบร์ สำหรับบาทหลวงตาชาร์ด ได้เดินทางมายังประเทศไทยสมัย พระนารายณ์มหาราช ถึง ๓ ครั้ง ครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๖๘๕ (พ.ศ. ๒๒๒๘) ครั้งที่ ๒ มาพร้อมกับ ลาลูแบร์ ในปี ค.ศ. ๑๖๘๗ (พ.ศ. ๒๒๓๐) ครั้งที่ ๓ ในปี ค.ค. ๑๖๙๙ (พ.ศ. ๒๒๔๒) ภาระสำคัญของบาทหลวงตาชาร์ดคือ หาทางเกลี้ยกล่อมให้สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นคริสตัง ในคริสตศาสนาโรมันคาทอลิค แต่ไม่สำเร็จ เพียงแต่ทรงอนุญาตว่า ผู้ใดจะเป็นคริสตังหรือไม่ก็ได้ไม่ห้ามสำหรับนายลูแบร์ผู้เดินทางมาพร้อมกับบาทหลวงตาชาร์ดครั้งที่ ๒ ถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ค.ค. ๑๖๘๗ และเดินทางกลับเมื่อ วันที่ ๓ มกราคม ค.ค. ๑๖๘๘ รวมเวลาที่ ลาลูแบร์ พักอยู่ในประเทศไทย เพียง ๓ เดือน กับ ๖ วัน คือ ไม่ถึง ๑๐๐ วันเต็ม ภาระกิจสำคัญของลาลูแบร์ นอกจากจะทำหน้าที่ในฐานะอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มแล้ว ยังต้องทำหน้าที่รายงานสิ่งที่ได้พบเห็น หรือได้ทราบเรื่องราวต่าง ๆ ของประเทศสยามให้ผู้บังคับบัญชาที่ยู่เหนือได้ทราบอย่างละเอียดอีกด้วย และในหลายเรื่องที่นายลาลูแบร์ได้บันทึกเอาไว้นี้ก็มีเรื่องราวทางดนตรีไทย ปนอยู่มิใช่น้อย ถ้าไม่คิดรังเกียจว่าฝรั่งเป็นผู้จดบันทึก ก็นับว่ามีค่าที่จะนำเป็นข้อมูลเพื่อการศึกษาค้นคว้าต่อไปบันทึกของลาลูแบร์ในส่วนที่เกี่ยวกับเมืองไทยนั้น ได้ถูกถ่ายทอดออกมาเป็นพากย์ภาษาไทย โดยนักเขียนคนสำคัญ ๒ ท่าน ท่านแรกเป็นพระนิพนธ์แปลในสมเด็จฯ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ที่ทรงนิพนธ์แปลจากต้นฉบับเป็นภาษาอังกฤษที่มีชื่อว่า A New Historical Relation of the Kingdom of Siam by Monsieur de la Lubere โดย A.P. Ger R.SS. เป็นผู้แปลมาจากภาษาฝรั่งเศสอีกต่อหนึ่ง อีกสำนวนหนึ่ง แปลโดย สันต์ ท. โกมลบุตร จากต้นฉบับที่เป็นภาษาฝรั่งเศสตามรหัสทะเบียนหนังสือของหอสมุดแห่งชาติคือ Loubere, de la : Du Royaume de Siam, 1691Amsterdam: V.1-28 A 0045-8 A.0421ส่วนเรื่องต่าง ๆ เท่าที่ลาลูแบร์ได้บันทึกเอาไว้ แบ่งออกเป็น ๓ ตอน ตอนแรกว่าด้วยประเทศสยามตามสภาพทางภูมิศาสตร์ ตอนที่ ๒ ว่าด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวสยามโดยทั่ว ๆ ไป และตอนที่ ๓ ว่าด้วยจารีตของชาวสยามตามชั้นบุคคลในฐานะต่าง ๆ ซึ่งในแต่ละตอยที่จะมีรายละเอียดอีกมากมายจนแทบไม่น่าเชื่อเลยว่า ระยะเวลาเพียง ๓ เดือนเศษ ที่ลาลูแบร์พำนักอยู่ในสยามได้พบเห็นเรื่องราวของชาวสยามได้ละเอียดละออ ถึงเพียงนั้นเชียวหรือ ซึ่งที่จริงแล้ว ก่อนที่ลาลูแบร์จะได้เดินทางเข้ามาสัมผัส กับชาวสยามโดยตรง ลาลูแบร์ได้ศึกษาถึงรายละเอียด เกี่ยวกับชาวสยามมาเป็นอย่างดีแล้ว ยิ่งเขาได้มาพบด้วยตนเองด้วยแล้ว ก็ยิ่งทำให้แต่ละเรื่องที่เขาบันทึกก็ยิ่งละเอียดละออมากขึ้น ปัญหาที่น่าขบคิดคือ เราไม่ทราบว่าส่วนใดที่ลาลูแบร์ได้ศึกษามาก่อนหรือส่วนใดที่ลาลูแบร์ได้พบเห็น ด้วยตัวของตัวเอง นอกจากจะคิดเป็นส่วนรวม ว่าทั้งหมดล้วนแต่เป็น ประสบการณ์ของลาลูแบร์สำหรับเรื่องราวทางดนตรี ทั้งที่เป็นดนตรีโดยตรงและดนตรีแฝง ทั้งหมดจะอยู่ในตอนที่ ๒ ที่ว่าด้วยขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวสยาม นอกจากเพลงสายสมร ที่บันทึกเป็นโน้ตสากลสอดแทรกไว้ลอย ๆ ในตอนท้ายของบทที่ ๕ ว่าด้วยแบบแผนการตุลาการ ซึ่งเป็นบทหนึ่งของตอนที่ ๓ ที่ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับดนตรีเลยดนตรีไทยตามที่ลาลูแบร์ได้พบ เขาพยายามที่จะพรรณนา และวิเคราะห์ไปตามความรู้ลึกของเขา ส่วนที่จะผิด ถูกเพียงใดแค่ไหน เป็นสิ่งที่เราต้องพิจารณาเอาเอง เพราะเขาพยายามนำเอาระเบียบทางดนตรี อย่างตะวันตก มาเป็นแนวเทียบ ที่พอจะสรุปได้ดังนี้
๑. ในด้านระเบียบทางดนตรีหรือจะกล่าวรวม ๆ ไปว่า "ทฤษฎีทางดนตรี"๑.๑ ไม่รู้จักวิธีสร้างโน้ตเก็บเสียงตามมาตราเพลงเอาไว้๑.๒ ไม่มีจังหวะจะโคน๑.๓ ในการขับร้อง ไม่มีเสียงสั่นลงลูกคอ มีการร้องเอื้อนเสียงโดยไม่มีเนื้อเพลง หากจะทำเสียงแทนที่เนื้อเพลง เขาจะออกเสียง หน่อย นอย (noi, noi)๑.๔ เพลงร้องของชาวสยามนิยมเสียงค่อนข้างสูง ไม่มีเสียงทุ้มเลย แม้แต่เพลงพระยาเดินในขณะเสด็จพระราชดำเนิน ล้วนแต่มีเสียงค่อนข้างสูงทั้งสิ้น๑.๕ เวลาบรรเลง ไม่รู้จักแยกเล่นเครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ ในวง๑.๖ ไม่รู้จักการขับร้องประสานเสียง มีแต่ขับร้องไปพร้อม ๆ กัน๒. ในด้านเครื่องดนตรี ลาลูแบร์ได้เห็นเครื่องดนตรีหลายชนิด เช่น๒.๑ ชาวสยาม มีเครื่องดนตรีฝีมือหยาบ ๆ อย่างหนึ่ง มี ๓ สาย เขาเรียกว่า "ซอ" (tro) กับ haut - bois เสียงแหลม เขาเรียกว่า ปี่ เล่น แต่ละใบมีคานสอดพาดบนขาตั้งสองด้าน ใบหนึ่งเรียกว่า โฉ่ง ฉ่าง (Schoung - Schang) อีกใบหนึ่ง กว้างกว่า บางกว่า เรียกว่า ฆ้อง (Cong)๒.๒ ตะลุงปุงปัง (Tloun pounpan) มีขนาดเท่ากลองรำมะนาของเรา แต่ขึงหนังทั้งสองหน้าเหมือนกลองจริง ๆ ทั้งสองข้างของตัวไม้ มีลูกตุ้มตะกั่วผูกเชือกติดอยู่ ที่ตัวกลองมีไม้เสียบเป็นคันถือ เวลาควงข้อมือ ลูกตุ้มจะแกว่งไปกระทบหน้ากลองทั้งสองด้าน๒.๓ ตะโพน(Tapon) รูปร่างเหมือนถังไม้ที่ใช้หมักเหล้ามีเชือกผูกโยงแขวนคอไพล่มาไว้ข้างหน้าผู้เล่น แล้วใช้กำปั้นทุบหน้ากลองทั้งสองด้าน๒.๔ เครื่องดนตรีที่ประกอบด้วยลูกฆ้อง ซึ่งเขาเรียกว่า พาทย์ฆ้อง(pat cong) ลูกฆ้องนั้น ล้วนผูกไว้ต่อ ๆ กับไม้สั้น ๆ ติดตั้งในทางราบ อยู่บนขอบไม้รูปครึ่งวงกลม ผู้เล่นนั่งขัดสมาธิอยู่ตรงศูนย์กลางแล้วตีลูกฆ้องด้วยไม้ ๒ อัน เครื่องดนตรีชนิดนี้จะมีเพียง ๕ ระดับเสียง เป็นคู่กันไปเท่านั้น๒.๕ การขับร้องประกอบดนตรี ลางทีใช้ไม้ ๒ ชิ้นสั้น ๆ เรียกว่า กรับ(crab) ขยับกระทบกันไปพร้อมกับการขับร้อง ผู้ร้องเรียกว่า ช่างขับ (Tchang - cab) ๒.๖ แตร (tre) คงเป็นเครื่องเป่าของฝรั่ง เนื่องจากลาลูแบร์บันทึกไว้ว่า "ชาวสยามชอบแตรของเราเป็นที่สุด …"๒.๗ กลอง (elong) มีขนาดย่อมกว่ากลองของเรา แต่มิได้ใช้คล้องไหล่ หากเอาหน้ากลองด้านหนึ่งตั้งลงกับพื้น แล้วตีอีกหน้าหนึ่ง คนตีนั้นนั่งขัดสมาธิอยู่หน้ากลอง เขาใช้กลองนี้ตีควบไปกับการขับร้องด้วย แต่จะตีกลองควบกับการขับร้องเฉพาะในการฟ้อนรำเท่านั้น๓. ในด้านบทบาทของเครื่องดนตรี ที่สำคัญคือ ๓.๑ ใช้ประโคม เช่นใช้ประโคมเวลาเสด็จพระราชดำเนิน หรือเข้าในกระบวนแห่ ลาลูแบร์ตอนที่ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระนารายณ์ฯ ในลานพระราชมนเทียรด้านในว่า เห็นมีคนตั้งร้อยหมอบอยู่เป็นแถว ลางคนก็ถือแตรเล็กฝีมือหยาบ ๆ นั้นไว้เพื่ออวดโดยมิได้เป่าเลย สงสัยว่าจะทำด้วยไม้ ลางคนก็มีกลองใบย่อม ๆ วางไว้ตรงหน้าแต่ไม่เห็นได้ตี เป็นต้น๓.๒ ใช้ประกอบการแสดงโขนละคร หรือระบำ๔. ในด้านบทเพลง มีเพลงเดียวที่บันทึกด้วยโน้ตสากล ที่เราเรียกชื่อไปตามเนื้อร้องที่ขึ้นต้นว่า "สายสมรเอย…" ว่า เพลงสายสมร แต่เขาเขียนไว้ตรงตอนบนของบทเพลงไว้ว่า "Chancon" และ "Siamoife" ซึ่งไม่ทราบว่าหมายถึงอะไร บางคนเรียกเลยเถิดไปถึงเพลงสรรเสริญพระนารายณ์ ก็ยังมี ทั้ง ๆ ที่ไม่มีข้อความใดที่กล่าวถึงสมเด็จพระนารายณ์ฯ เลย นอกจากมีทำนองเข้าใจว่าคงมีเสียงเอื้อนนิดหนึ่งในคำ "Tehiong" ที่บังเอิญมีทำนองตรงกับเพลงสรรเสริญพระบารมีในปัจจุบันแค่นิดเดียว ถึงกับยกให้เป็นเพลงสรรเสริญพระนารายณ์ฯเชียวหรือ ทั้ง ๆ ที่คำร้องเป็นแต่เพียงบทสังวาสเท่าที่ได้กล่าวมา ไม่ว่าลาลูแบร์จะบันทึกผิดหรือถูก แต่ก็ถือว่า เป็นหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดและสมบูรณ์ที่สุด เท่าที่ปรากฏในหลักฐานอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นวรรณกรรม ศิลาจารึกหรือภาพจิตรกรรมฝาผนัง ทั้งให้ความกระจ่างชัดที่เรารับได้ ทำให้เราได้ทราบถึงชื่อของเครื่องดนตรี รูปร่าง เสียง วิธีบรรเลง บทบาทของดนตรี การขับร้องที่ส่วนใหญ่ยังคงตรงกับปัจจุบัน ผิดกับหลักฐานอื่น ๆ ที่มีเพียงแต่ชื่อ แถมมีชื่อแผลง ๆ ก็ยังมี เพราะผู้บันทึกมิใช่เป็นนักดนตรี แต่เป็นกวีบ้าง นักธรรมะผู้ใฝ่ในธรรมบ้าง ที่คิดอะไรได้ก็ใส่ลงไปอันการบันทึกของลูแบร์ บางอย่างก็ชัดเจน บางอย่างต้องตีความ เพราะเขาบันทึกตามที่เขาเห็นแล้วนำมาเปรียบเทียบกับของเรา สิ่งที่เราต้องตีความเช่น เมื่อพรรณนาถึง พาทย์ฆ้อง ก็น่าจะเป็น ฆ้องวง หรือเมื่อกล่าวถึงกลอง ที่มีคนตีนั่งขัดสมาธิอยู่หน้ากลองก็น่าจะเป็นกลองทัดและคงมีลูกเดียว แต่ก็เป็นที่น่าเสียดาย ที่ลาลูแบร์มิได้กล่าวถึงระนาดเลย คิดว่า ไม่น่าเป็นไปได้ที่ลาลูแบร์จะไม่เห็น อาจเป็นเพราะสมัยนั้น ยังไม่มีระนาดก็เป็นได้ อย่างไรก็ตาม ที่ลาลูแบร์บันทึกแล้วอธิบายอย่างมั่ว ๆ ก็มี เช่น เห็นมีคนตั้งร้อยบ้างก็ถือแตร บ้างก็มีกลองวางไว้ข้างหน้า แต่หาได้เป่าหรือตีไม่ คงมีไว้เพื่ออวดคือมีไว้โก้ ๆ ซึ่งเรื่องนี้ ลาลูแบร์โง่ถนัด เพราะก็เห็นอยู่แล้วว่า พวกเขาเหล่านั้นกำลังหมอบเฝ้ารับเสด็จอยู่จะให้เขาบรรเลงได้อย่างไร หรือยิ่งไปกว่านี้ เมื่อเขาได้เห็นชาวสยามเก็บพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์ไว้ภายในพระเจดีย์ ที่เขาเรียกว่า พีรามิด เขาได้พรรณนาเอาไว้ว่า"… พีรามิดเหล่านี้เรียกว่า พระใจดี (Pra Tchiai - di) พระ เป็นคำภาษาบาลี ที่ข้าพเจ้าได้กล่าวถึงอยู่บ่อย ๆ แล้ว ใจดี หมายความว่า ดีใจ (coeur - bou) คือความพอใจ (contente ment) เพราะฉะนั้น พระใจดี ก็อนุโลมว่า การพักผ่อนอันศักดิ์สิทธิ์ (repos sacre) ด้วยคำว่าการพักผ่อนกับความพอใจนั้นมีความหมายคล้ายคลึงกันอยู่…"เรื่องที่ฝรั่งแปลคำ "พระเจดีย์" ว่า "พระดีใจ" นั้น ได้มาเกิดอีกครั้งสมัยรัชกาลที่ ๔ สมัยนี้ได้มีการว่าจ้างแหม่มฝรั่งชาวอเมริกัน นางหนึ่ง เห็นเรียกกันว่า แอนนา เล็นส์โนเวล บ้างเรียกว่า แอนนา เลียวส์โนเวล บ้าง แต่คนไทยทั่วไปนิยมเรียกว่า แหม่มแอนนา เพื่อเข้ามาสอนภาษาอังกฤษแก่พระราชโอรสและพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในขณะเดียวกัน แหม่มแอนาคงจะต้องศึกษาภาษาไทยด้วย แกได้คิดวิธีแปลคำไทยให้เป็นภาษาอังกฤษ เท่าที่ปรากฎเป็นตัวอย่างพบ แต่ที่เป็นคำประสมเช่น แปลคำ "ลูกปืน" ว่า son of a gun แปลคำ "แม่น้ำ" ว่า mother of water แปลคำ "น้ำเสียง" ว่า water of the sound ซึ่งคำเหล่านี้พอรับฟังได้ แต่พอไปแปลคำ "พระเจดีย์" ว่า "The Lord delighted แล้วมันมิได้แปลว่า พระเจดีย์ ตามที่เราเข้าใจแต่จะแปลว่า "พระดีใจ" ซึ่งเป็นคนละความหมาย แหม่มแอนนาคงจะรู้ภาษาสันสกฤตอยู่บ้างกระมัง คำ "เจดีย์" ในภาษาไทย บาลีเขาออกเสียงเป็น "เจติยะ" สันสกฤตเขาออกเสียงเป็น "ไจติยะ" ซึ่งแหม่มแอนนาคงจะแผลต่อเป็น "ใจดี" แล้วแกคงคิดว่า พระเจดีย์ หรือพระดีใจ คงมีความหมายเหมือนกัน เข้าตำราฟังไม่ได้ศัพท์จับเอามากระเดียด หรือ รู้น้อยว่ามากรู้ เริงใจ ทำนองนั้นที่จริงคำว่า เจติยะ หรือ ไจติยะ แปลว่า ถึงคิดถึง พึงระลึกถึง คำที่เราเรียก พระเจดีย์ หมายความว่า สิ่งที่เราทำขึ้นเพื่อให้เราระลึกถึงในสิ่งนั้น เรื่องที่เกิดขึ้นอย่างนี้ก็เป็นข้อคิดอย่างหนึ่งว่า สิ่งที่ฝรั่งคิด ฝรั่งทำ ใช่ว่าจะดีหรือถูกต้องเสียทุกอย่างไปแม้ว่า การบันทึกของลาลูแบร์จะบกพร่องไปบ้าง แต่ยังมีเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่และชีวิตของชาวสยามอีกมากมาย เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ควรแก่การยกย่องและที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ทำให้เรารู้จักว่า ชาวสยามหรือคนไทยคือใคร
โดย คีตพจน์
: http://www.oknation.net/blog/print.php?id=26450
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)